www.siamphone.com

ข่าว

Bill Gates อดีตซีอีโอ Microsoft ยังคงไม่ปลื้มวิธีการกดปุ่ม Ctrl + Alt + Del ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ฮาร์ดดิส (Hard disk)   |   วันที่ : 22 กันยายน 2560

ผู้ใช้งานเครื่องพีซีแพลตฟอร์ม Windows บางส่วนจะทราบว่าเมื่อเครื่องพีซีเกิดอาการค้างหรือทำงานผิดปกติ วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นคือการกดปุ่ม Ctrl + Alt + Del ทั้ง 3 ปุ่มบนคีย์บอร์ดพร้อมกันเพื่อรีบูตเครื่องผ่านคำสั่งทางซอฟต์แวร์โดยวิธีนี้จะต้องใช้มือทั้งสองข้างซึ่งผู้ออกแบบตั้งใจไว้ว่าเพื่อป้องกันการกดรีบูตเครื่องแบบไม่ตั้งใจ แต่รู้หรือไม่ว่า Bill Gates อดีตซีอีโอของ Microsoft ไม่เคยชื่นชอบวิธีการกดปุ่ม Ctrl + Alt + Del เลยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 2013 Bill Gates เคยบอกกับสื่อมวลชนว่าตัวเขาเองมองว่าวิธีการกดปุ่มทั้ง 3 ปุ่มเป็น "ข้อผิดพลาด" โดยเขาอยากให้มีการออกแบบคีย์บอร์ดที่เพิ่มปุ่มกดขึ้นมาปุ่มหนึ่งที่เวลากดแล้วจะทำงานเหมือนกับกด Ctrl + Alt + Del แต่ว่าวิศวกรผู้ออกแบบคีย์บอร์ด IBM ไม่ต้องการให้เรามึปุ่มแบบนี้

สำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่า Ctrl + Alt + Del คืออะไร มันคือการเรียกฟังก์ชั่นบังคับปิดการทำงานบน Windows ซึ่งนิยมใช้ในกรณีที่ระบบปฏิบัติการหยุดนิ่งไม่ตอบสนองต่อคำสั่งผู้ใช้งาน ฟังก์ชั่นนี้สามารถเรียกใช้ Task Manager เพื่อจัดการงานปิดต่าง ๆ ที่ยังค้างอยู่และสามารถรีบูตระบบได้ปลอดภัยกว่าการกดปุ่มเปิด-ปิดเครื่องโดยตรง

ในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg สื่อธุรกิจต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2017 Bill Gates กล่าวว่าฟังก์ชั่นนี้ควรจะใช้ง่ายกว่าที่เป็นอยู่ "ปุ่มกดคีย์บอร์ด IBM PC เป็นหนทางเดียวที่จะเรียกใช้ฟังก์ชั่นขัดจังหวะการทำงานของ Windows ได้" เขาอธิบายเมื่อพิธีกรถามถึงเรื่องของฟังก์ชั่น Ctrl + Alt + Del ซึ่งรู้มาก่อนว่า Bill Gates ไม่ค่อยชอบใช้งานมัน

"ดังนั้น ก็อย่างที่ผมเคยหวังไว้น่ะแหละ คนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องควรจะหาทางสร้างปุ่มอื่นที่มันง่ายกว่าวิธีกด Ctrl + Alt + Del เพราะเครื่องจักรจำนวนมากในทุกวันนี้ต่างก็ออกแบบฟังก์ชั่นให้ทำงานง่ายขึ้นทั้งนั้นแหละ"

ดูเหมือนว่าถ้า Bill Gates สามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขเรื่องในอดีตได้ เขาคงจะย้อนไปแก้ให้ Windows สามารถกดปุ่มบนคีย์บอร์ดปุ่มเดียวก็ทำงานได้เหมือนกับกดปุ่ม Ctrl + Alt + Del อย่างแน่นอน แต่ประวัติศาสตร์ก็คือประวัติศาสตร์ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตไม่สามารถแก้ไขอะไรได้

ที่มา : www.ubergizmo.com วันที่ : 22 กันยายน 2560

11,764
อ่าน

แบ่งปันบทความ

ข่าวล่าสุด

ไฮไลท์ข่าว

หมวดข่าว

None AMP version